วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 15-16 ศึกษาดูงานแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ท้องฟ้าจำลอง สวนหลวง ร.9


ศึกษานอกสถานที่    

1. อาคารห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ  80 พรรษา  5 ธันวาคม  2550
อุทยานการเรียนรู้ประกอบไปด้วย
ห้องสมุดมีชีวิต





ห้องโลกของเรา




ห้องลานสานฝัน




โรงภาพยนตร์  4  มิติ

ห้องบังคับการเรือ

2. ศูนย์วิทยาศาสตร์  ดาราศาสตร์   
แบ่งออกเป็น  2  ส่วน  คือ  
ภายในเป็นศูนย์ดาราศาสตร์  (ท้องฟ้าจำลอง)  
ภายนอกเป็นศูนย์วิทยาศาสตร์  14  โซน  ดังนี้
1) ถอดรหัสลับในเซลล์
2) สัตว์โลกของเรา
3) มารู้จักพืชกันเถอะ
4) มิติใหม่สารใกล้ตัว
5) ไขปริศนาดาราศาสตร์
6) โลกของเรา
7) เทคโนโลยีอวกาศ
8) นักวิทยาศาสตร์สำคัญของโลก
9) ร่างกายของเรา
10) โลกอิเล็กทรอนิกส์
11) เทคโนโลยีสารสนเทศ
12) พลังงานยุคใหม่
13) ทฤษฎีสร้างภาพ  3  มิติ


14) พันธุวิศวกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ  และนาโนเทคโนโลยี

สัปดาห์ที่ 11-12 วีดิทัศน์แนะนำแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้โดยมีรายละเอียดให้ครบถึงองค์ความรู้ที่ได้, ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

วิดีทัศน์กลุ่ม  ภูมิปัญญากระบอกไม้ไผ่  เรื่อง  ข้าวหลามแม่นิยม




1. ชื่อแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้  ข้าวหลามแม่นิยม


2. ข้อมูลการติดต่อ   นางนิยม  สร้อยสน
       • บ้านเลขที่  35  ต.แสนสุข  ต.แสนสุข  อ.เมือง  จังหวัดชลบุรี  20130
       • เบอร์โทร  038-391240  ,  086-1425989

3. ประวัติความเป็นมา
        สมัยก่อนครอบครัวมีอาชีพทำนา  พอบิดามารดาทำนาไม่ไหวนางนิยมก็เกิดความคิดว่าจะค้าขาย  จึงได้หันวิถีชีวิตมาทำข้าวหลามขายโดยคิดค้นสูตรขึ้นมา  ครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร  แต่นางนิยมก็พยายามหาวิธีทำสูตรต่างๆ  ปรับปรุงรสชาติให้อร่อย  หอมมัน  จนได้สูตรที่น่าพอใจ  และทำไปถึงปัจจุบันนี้

4. เอกลักษณ์/จุดเด่นของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้     รสหวาน  มัน  อร่อย  สะอาด  ถูกหลักอนามัย  

5. มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ   ชนะเลิศรางวัลที่ 1  สินค้าพื้นเมือง


สัปดาห์ที่ 9-10 แหล่งการเรียนรู้ประเภทบุคคล และวัฒนธรรมประเพณี ในรูปแบบภูมิปัญญา


- กลุ่มภูมิปัญญากระบอกไม้ไผ่










1. ชื่อภูมิปัญญา  ข้าวหลาม แม่นิยม


2. ประเภทภูมิปัญญา  แหล่งการเรียนรู้ประเภทบุคคล


3. สถานที่ของการเก็บข้อมูล  ร้านแม่นิยม  หนองมน
4. องค์ความรู้ที่ได้  ได้รู้จักวิธีการทำข้าวหลามให้หวาน หอม มัน อร่อย และการทำให้มีชื่อเสียงในหนองมน
5. กลุ่มสาระในการเรียนรู้  การงานอาชีพและเทคโนโลยี
6. กลุ่มเป้าหมายในการเรียนรู้  บุคคลทั่วไป











วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 3-4 หลังจากที่นิสิตได้ทราบความหมายและประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้มาแล้ว ให้นิสิตเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ใกล้ตัวตามเงื่อนไขต่อไปนี้

1. ให้นิสิตบันทึกภาพแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ใกล้ตัวมาให้ครบทั้ง 4 ประเภท (ประเภทละ 2 ตัวอย่าง) โดยต้องมีภาพอย่างน้อยแหล่งละ 4 ภาพโดย 1 ใน 4 ภาพต้องมีนิสิตเข้าร่วมอยู่ในภาพนั้น ๆ ด้วยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 

  • แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล
ทำบุญประปาหมู่บ้าน ต.ท่านัด อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี






ทำบุญวัดโคกหลวง อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี





  • แหล่งการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ
สงกรานต์ชายหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี






ก่อกองทรายริมชายหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี




  • แหล่งการเรียนรู้ประเภทสื่อและวิธีการ
นิทรรศการวันไหลบางแสน  ต.แสนสุข  อ.เมือง จ.ชลบุรี









  • แหล่งการเรียนรู้ประเภทอาคารสถานที่
วัดโคกหลวง  อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี






วัดเพชรสมุทรวรมหาวิหาร  อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม





2. ในแหล่งการเรียนรู้ใกล้ตัวให้นิสิตเขียนอธิบายถึงองค์ความรู้ที่ได้มา และเหมาะสมกับกลุ่มสาระใด
  • วัดโคกหลวง  อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
           องค์ความรู้
           วัดโคกหลวง เป็นวัดที่เก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีอายุไม่ต่ำกว่า 251 ปี   มีอุโบสถที่สำคัญที่สุด หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องกาบูชั้นเดียว มีพาไลทั้งด้านหน้า และหลังด้านข้างมีชายคาปีกนกสั้นยื่นออกมา และยังมีกำแพงแก้วรอบอุโบสถ   และเสมาเสาหินทรายแดงในวัดสมัยอยุธยาตอนปลาย  ปัจจุบันพระอุโบสถได้รับการบูรณะใหม่ เช่น หลังคา เสา และฝาผนัง ฯลฯ   และได้รับการอนุญาตจากกรมการศาสนาให้ตั้งเป็นวัดชื่อว่า "วัดโคกหลวง"
            กลุ่มเป้าหมายหลัก/กลุ่มผู้เรียนหลัก  คือ  เยาวชน  และบุคคลทั่วไปที่สนใจต้องการศึกษาหาความรู้  ความเข้าใจ  และศรัทธาในพระพุทธศาสนา
           เหมาะสมกับกลุ่มสาระการเรียนรู้  สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม


3. จากที่นิสิตศึกษามาแหล่งการเรียนรู้ใดที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ช่วงเทศกาลสงกรานต์ และเทศกาลสงกรานต์เป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทใด  เพราะเหตุใด
  • แหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ช่วงเทศกาลสงกรานต์ คือ  วัด
  • เทศกาลสงกรานต์เป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภท  แหล่งการเรียนรู้ประเภทสื่อและวิธีการ  เพราะ  สงกรานต์  เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี  การเล่นสงกรานต์จะใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านใน เทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข








วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 2 หลังจากศึกษาเนื้อหาแหล่งการเรียนรู้ประเภทบุคคลให้นิสิต Download Clip VDO เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคล คนละ 2 ClipVDO พร้อมนำเสนอบน Weblog พร้อมอธิบาย

 ปราชญ์ชาวบ้าน   หมายถึง   บุคคลผู้เป็นเจ้าของภูมิปัญญาชาวบ้าน และนำภูมิปัญญามาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตจนประสบผลสำเร็จสามารถถ่ายทอด เชื่อมโยงคุณค่าของอดีตกับปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม
แก่นของหลักคิด และวิธีการ ที่ปราชญ์ชาวบ้านเสนอ ไม่ว่าจะเป็นบุคคล หรือ ระดับชุมชนเบื้องต้นสุด เริ่มจาก
1.   การรู้จักตัวเองให้ได้
2.   ใช้ปัญญาทางานแทนเงินตรา
3.  สร้างการมีส่วนร่วมแทนอำนาจสั่งการ
4.  ชุมชนต้องมีบทบาทหลัก ไม่ใช่หน่วยงานราชการ
5.  ทำตัวเป็นแบบอย่าง คนยอมรับนับถือ

                ภูมิปัญญา

ภูมิปัญญา ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Wisdom หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะความเชื่อ และศักยภาพในการแก้ปัญหาของมนุษย์ที่สืบทอดกันมาจากอดีตถึงปัจจุบันอย่างไม่ ขาดสายและเชื่อมโยงกันทั้งระบบทุกสาขา
ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะและเทคนิคการตัดสินใจ ผลิตผลงานของบุคคล อันเกิดจากการสะสมองค์-ความรู้ทุกด้านที่ผ่านกระบวนการสืบทอด พัฒนาปรับปรุง และเลือกสรรมาแล้วเป็นอย่างดีสามารถแก้ไขปัญหา และพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย
ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาชาวบ้านหมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดขึ้นได้เองและนำมาใช้ในการแก้ปัญหา เป็นเทคนิควิธี เป็นองค์ความรู้ของชาวบ้าน ทั้งทางกว้างและทางลึกที่ชาวบ้านคิดเอง ทำเอง โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการดำเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม กับยุคสมัยความเหมือนกันของภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ เป็นองค์ความรู้ และเทคนิคที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ซึ่งได้สืบทอดและเชื่อมโยงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
ความเหมือนกันระหว่างผู้ทรงภูมิปัญญาไทยกับปราชญ์ชาวบ้าน  คือ บทบาทและภารกิจในการนำภูมิปัญญาไปใช้แก้ปัญหา และการถ่ายทอดเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงจากอดีตถึงปัจจุบัน ส่วนความแตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับระดับภูมิปัญญาที่จะนำไปแก้ปัญหาและถ่าย ทอดกล่าวคือ ผู้ทรงภูมิปัญญาไทยย่อมมีความสามารถหรือภารกิจในการนำภูมิปัญญาระดับชาติไป แก้ปัญหา หรือถ่ายทอด หรือผลิตผลงานใหม่ๆ ที่มีคุณค่าต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม ส่วนปราชญ์ชาวบ้านมีความสามารถหรือภารกิจในการนำภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นไปแก้ปัญหาหรือถ่ายทอดในท้องถิ่น
อย่างไรก็ตาม ภูมิปัญญาไทย และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ย่อมมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกัน เพราะภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นถือว่าเป็นฐานหลักแห่งภูมิปัญญาไทยเปรียบเหมือนฐานเจดีย์



พ่อคำเดื่องภาษี - ปราชญ์ชาวบ้าน







พ่อคำเดื่องภาษี - ปราชญ์ชาวบ้าน นักคิด นักพูด นักปฏิบัติแห่งยุค   
ที่อยู่   40 ม.8 ต.หัวฝาย กิ่งอำเภอแคนดง จ.บุรีรัมย์
แหล่งที่มา  มูลนิธิพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนเพื่อคุณภาพชีวิตดี  จังหวัดขอนแก่น


ความเป็นมา 
พ่อคำเดื่อง ภาษี เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2495 เป็นลูกคนที่ 6 ในบรรดาลูกๆ 7 คน ของพ่อไพร และแม่สี ภาษี แต่งงานกับนางอมร งามชัด    ลูกสาวผู้ใหญ่บ้านบ้านหนองแก ตำบลช่องสามหมอ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ มีลูกชาย 2 คน และลูกสาว 1 คน


ตัวอย่างคำพูดของพ่อคำเดื่อง ภาษี  ที่เปรียบเปรยให้เห็นถึงแนวทางการทำเกษตรประณีตหนึ่งไร่ซึ่งรัฐบาลชูให้เป็นแนวทางหนึ่งของการแก้ไขปัญหาความยากจน 
"เราต้องคิดว่าเราคือผู้แพ้สงครามเกษตรเชิงเดี่ยว ใช้สารเคมีจนดินเสื่อมหมดแล้ว เป็นหนี้สินพ้นตัว หนีมาพื้นแผ่นดินใหม่ มีพริก มะเขือ ผักชนิดต่าง ๆ ไก่บ้าน ปลาในบ่อ เป็นพลทหาร จะระดมพลออกรบเมื่อไหร่ก็ได้ มีพืชสมุนไพรผักพื้นบ้านเป็นยา ใช้รักษายามเจ็บไข้ มีลูกยอ กล้วย เป็นนายสิบ มีไผ่เป็นนายร้อย มียางนา ตะเคียนทอง เป็นนายพัน นายพล โดยมีเจ้าของสวนเป็นจอมทัพ สะสมกำลังอยู่ในพื้นที่เล็ก ๆ เพียงหนึ่งไร่ ไม่ต้องหวังร่ำรวย เอาแค่พออยู่พอกิน หวังสร้างทรัพย์สินทางปัญญาเป็นมรดกให้ลูกหลาน ทำอย่างนี้เท่านั้นที่จะนำพาชีวิตครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติไปสู่ชัยชนะได้ "



ไขเค็มไชยา  - ภูมิปัญญาท้องถิ่น




ประวัติความเป็นมา 
        ชาวบ้านหมู่ที่ 6 ตำบลเสม็ดมีอาชีพทำนา และเลี้ยงเป็ดเป็นอาชีพเสริมเมื่อสิ้นฤดูกาลทำนา เนื่องจากผลิตภัณฑ์ไข่เป็ดสดมีปริมาณมากเหลือจากการขายเป็นสาเหตุให้ไข่เป็ดเน่าเสียชาวบ้านจึงหาวิธีถนอมไข่เป็ดสดไม่ให้เน่าเสียโดยการนำมาพอกกับดินและหมักไว้เป็นไข่เค็ม เมื่อได้รสชาติที่ดีและเก็บไว้ได้นานก็เริ่มมาวางขายบริเวณหน้าลานบ้านและริมถนนเอเชียโดยบรรจุกล่องรองเท้าบ้างใส่ถุงพลาสติกบ้าง 
ต่อมาเริ่มมีคนบริโภคไข่เค็มมากยิ่งขึ้นจนปริมาณการผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการชาวบ้านจึงได้รวมตัวจัดตั้งเป็นกลุ่มและทำการผลิตไข่เค็มเพื่อจำหน่ายและได้พัฒนามาจนถึงปัจจุบัน โดยมีสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอไชยาเข้ามาส่งเสริม และสนับสนุนด้านการจัดการกลุ่ม การพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์และสนับสนุนงบประมาณในด้านต่างๆ


กระบวนการผลิต
นำไข่เป็ดสด ไม่ล้างน้ำมาคลุกกับดินจอมปลวกน้ำบ่อและเกลือป่นแล้วคลุกขี้แกลบตามอัตราส่วน ดิน 2 เกลือ 1 ผสมกับน้ำบ่อพอประมาณห้ามใช้น้ำประปา นำไข่เป็นจุ่มในดินแล้วนำไปคลุกขี้เถ้าแกลบ นำไปเก็บไว้ประมาณ 10-15 วัน นำมาบริโภคได้รสชาติมันอร่อย


การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ใช้น้ำบ่อเท่านั้น
ไข่เป็ดสดจากน้ำไม่ต้องล้างน้ำ
ใช้ดินจอมปลวกที่มีลักษณะค่อนข้างเหนียวเพื่อให้ไข่ขาวนุ่มอร่อย
ให้ข้าวเปลือกเป็นอาหารเป็ดเพื่อความแดงมันของไข่แดง


ลักษณะเด่นของผลิตภัณฑ์ 
        ไข่เค็มไชยาเป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนามาจากภูมิปัญญท้องถิ่นในการถนอมอาหารให้มีรสชาติ มัน อร่อย เป็นเอกลักษณ์ของไข่เค็มไชยาเป็นการเฉพาะยากแก่การเลียนแบบ ทั้งนี้เนื่องจากภูมิปัญญาของผู้ผลิตและวัตถุดิบในท้องถิ่นที่มีความพร้อมเหนือท้องถิ่นอื่น เป็นการส่งเสริมการมีงานทำและรายได้ครบวงจร คือ คนเลี้ยงเป็ด ผู้ผลิต ไข่เค็ม ผลิตกล่องกระดาษ ขายดินเหนียว ขายแกลบ ผู้แทนจำหน่าย การขายอาหารสัตว์


อ้างอิง  



วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 1 ความหมาย,ความสำคัญ,ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

1.ความหมายของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
              แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ หมายถึง ศูนย์รวมของวิชาความรู้ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล สิ่งประดิษฐ์ วัตถุ อาคาร สถานที่  ซึ่งมีอยู่กระจัดกระจาย ทั้งชุมชนเมืองและชุมชนชนบท อันเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญาที่แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ค้นพบได้อย่างไม่รู้จบ


2.ลักษณะองค์ประกอบสำคัญของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
               คุณลักษณะ   ของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่แท้จริงต้องสามารถสัมผัสกับบรรยากาศและสถานการณ์จริงโดยเอื้อประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้นั้นเกิดได้กับผู้เรียนทุกคน ทุกเวลา มีความหมาย มีความหลากหลาย สามารถเน้นทักษะและนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ ผู้เรียนมีอิสระในการตัดสินใจ คิดริเริ่มและ ปฏิบัติได้อย่างมีความสุข
               องค์ประกอบสำคัญ   การพัฒนาทักษะความสามารถในการเรียนรู้และการแสวงหาความรู้ เพื่อให้ประชาชนโดยรวมเป็น บุคคลแห่งการเรียนรู้”  มีความตระหนักถึงความสำคัญ ความจำเป็นของการเรียนรู้ มีความใฝ่รู้ สามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีทักษะ กระบวนการคิด การวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา สามารถใช้ความรู้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ตลอดจนมีโอกาสและสามารถเลือกที่จะเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดช่วงอายุแต่ละวัย ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย ยืดหยุ่นและมีคุณภาพตามความต้องการ ความสนใจ และความถนัด

3.ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
                   ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ จำแนกได้หลายประเภทตามทัศนะของนักการศึกษาแต่ที่เด่นชัด จำแนกเป็น 4 ประเภทใหญ่ คือ
                     3.1 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล หมายถึง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม มีผลงานได้รับการยกย่อง เป็นที่ยอมรับของสังคมซึ่งถือเป็นตัวอย่างต้นแบบกับบุคคลรุ่นหลังสืบไปในหลายสาขาอาชีพ ตัวอย่างเช่น แม่กิมลั้ง แม่กิมเนีย ที่มีความถนัดทางด้านปรุงแต่งขนมหม้อแกงเมืองเพชร โกฮับเจ้าเก่า ผู้บุกเบิกก๋วยเตี๋ยวเรือคลองรังสิตจนเป็นที่รู้จักทั่วประเทศ ด้านการเรียนการสอน มีครูต้นแบบสร้างสรรค์  ผลงานนวัตกรรมทางการสอนขึ้นหลายรูปแบบ เช่น สอนให้สนุกเป็นสุขเมื่อได้สอน การสอนที่เน้นกระบวนการ การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร เพื่อนสอนเพื่อน การสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา การสอนดนตรีไทยและดนตรีพื้นเมือง
                    3.2 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ  หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในโลกและอวกาศ ซึ่งไม่ได้หมายถึงสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ เช่น ภูเขา ป่าไม้ ลำธาร ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ และสัตว์ป่านานาชนิด  เป็นต้นเนื่องด้วยปัจจุบันมีการนำธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้ประโยชน์อย่างมากจนเหลือจำนวนน้อยลง มนุษย์เริ่มตระหนักถึงภัยที่จะเกิดขึ้นเพราะขาดธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี จึงได้มีการรณรงค์สร้างสิ่งทดแทนธรรมชาติ ได้แก่ ปลูกป่า จัดระบบนิเวศวิทยา อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการสอนพฤกษา-ศาสตร์ อนุรักษ์และขยายพันธุ์สัตว์ พันธุ์พืชนานาชนิด


           3.3 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่ใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร แยกได้  2  ประเภท  คือ
                         (1) สื่อทางด้านกายภาพ ได้แก่ วัสดุ ลักษณะสิ่งพิมพ์ ฟิล์ม แผ่นภาพโปร่งใส เทปบันทึกภาพ  เทปบันทึกเสียง แผ่น  CD ชนิดเสียงและภาพ เป็นต้น  อุปกรณ์  เป็นตัวช่องทางผ่านในลักษณะเครื่องฉาย เครื่องเสียงชนิดต่างๆ เป็นต้น
                         (2) สื่อทางด้านวิธีการ ได้แก่ รูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ทั้งการใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน และเทคโนโลยีระดับสูง  ได้แก่
        (2.1) สื่อท้องถิ่น ประเภทเพลง เช่น หมอลำ หนังตะลุง ลำตัด อีแซว ลำนำเพลงซอ เพลงพวงมาลัย เพลงฉ่อย และนิทานพื้นบ้าน เป็นต้น
        (2.2) สื่อกิจกรรม เช่น  หมากเก็บ หมากขะเหย่ง ตี่จับ มอญซ่อนผ้า เดินกะลา  เป็นต้น เป็นที่น่าสังเกตว่า สื่อกิจกรรมพื้นบ้านดังกล่าวมีมาแต่โบราณ หลายกิจกรรมเหมือนกับของชนเผ่าปิกมี่ในทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความสนุกตื่นเต้นในกลุ่มเด็กๆ ปัจจุบันก็ยังได้รับความนิยมอยู่ แต่ก็มีกิจกรรมที่ได้รับการพัฒนามาเป็นลำดับ จนถึงการใช้เทคโนโลยีระดับสูง เช่น โปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์ บทเรียนโปรแกรม โปรแกรมผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต ระบบมัลติมิเดีย ประเภท E-Learning เป็นต้น ซึ่งการประชุมสัมมนา  การปฏิบัติงานกลุ่ม  การทัศนศึกษา ก็เข้าข่ายสื่อกิจกรรมชนิดหนึ่ง
                3.4 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทวัตถุและอาคารสถานที่ หมายถึง วัตถุและอาคารสถานที่ ที่มีศักยภาพเป็นแหล่งความรู้ด้วยตัวของมันเอง สามารถสื่อความหมายโดยลำพังตัวเอง เช่น สถาปัตยกรรมด้านการก่อสร้าง จิตรกรรมภาพฝาผนัง ปูชนียวัตถุด้านประวัติศาสตร์ ชิ้นส่วนของธรรมชาติที่ให้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ โบราณวัตถุทางด้านศาสนา พิพิธภัณฑ์  เป็นต้น 

               

อ้างอิง