วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 2 หลังจากศึกษาเนื้อหาแหล่งการเรียนรู้ประเภทบุคคลให้นิสิต Download Clip VDO เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ประเภทบุคคล คนละ 2 ClipVDO พร้อมนำเสนอบน Weblog พร้อมอธิบาย

 ปราชญ์ชาวบ้าน   หมายถึง   บุคคลผู้เป็นเจ้าของภูมิปัญญาชาวบ้าน และนำภูมิปัญญามาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตจนประสบผลสำเร็จสามารถถ่ายทอด เชื่อมโยงคุณค่าของอดีตกับปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม
แก่นของหลักคิด และวิธีการ ที่ปราชญ์ชาวบ้านเสนอ ไม่ว่าจะเป็นบุคคล หรือ ระดับชุมชนเบื้องต้นสุด เริ่มจาก
1.   การรู้จักตัวเองให้ได้
2.   ใช้ปัญญาทางานแทนเงินตรา
3.  สร้างการมีส่วนร่วมแทนอำนาจสั่งการ
4.  ชุมชนต้องมีบทบาทหลัก ไม่ใช่หน่วยงานราชการ
5.  ทำตัวเป็นแบบอย่าง คนยอมรับนับถือ

                ภูมิปัญญา

ภูมิปัญญา ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Wisdom หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะความเชื่อ และศักยภาพในการแก้ปัญหาของมนุษย์ที่สืบทอดกันมาจากอดีตถึงปัจจุบันอย่างไม่ ขาดสายและเชื่อมโยงกันทั้งระบบทุกสาขา
ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะและเทคนิคการตัดสินใจ ผลิตผลงานของบุคคล อันเกิดจากการสะสมองค์-ความรู้ทุกด้านที่ผ่านกระบวนการสืบทอด พัฒนาปรับปรุง และเลือกสรรมาแล้วเป็นอย่างดีสามารถแก้ไขปัญหา และพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย
ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาชาวบ้านหมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดขึ้นได้เองและนำมาใช้ในการแก้ปัญหา เป็นเทคนิควิธี เป็นองค์ความรู้ของชาวบ้าน ทั้งทางกว้างและทางลึกที่ชาวบ้านคิดเอง ทำเอง โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการดำเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม กับยุคสมัยความเหมือนกันของภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ เป็นองค์ความรู้ และเทคนิคที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ซึ่งได้สืบทอดและเชื่อมโยงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
ความเหมือนกันระหว่างผู้ทรงภูมิปัญญาไทยกับปราชญ์ชาวบ้าน  คือ บทบาทและภารกิจในการนำภูมิปัญญาไปใช้แก้ปัญหา และการถ่ายทอดเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงจากอดีตถึงปัจจุบัน ส่วนความแตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับระดับภูมิปัญญาที่จะนำไปแก้ปัญหาและถ่าย ทอดกล่าวคือ ผู้ทรงภูมิปัญญาไทยย่อมมีความสามารถหรือภารกิจในการนำภูมิปัญญาระดับชาติไป แก้ปัญหา หรือถ่ายทอด หรือผลิตผลงานใหม่ๆ ที่มีคุณค่าต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม ส่วนปราชญ์ชาวบ้านมีความสามารถหรือภารกิจในการนำภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นไปแก้ปัญหาหรือถ่ายทอดในท้องถิ่น
อย่างไรก็ตาม ภูมิปัญญาไทย และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ย่อมมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกัน เพราะภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นถือว่าเป็นฐานหลักแห่งภูมิปัญญาไทยเปรียบเหมือนฐานเจดีย์



พ่อคำเดื่องภาษี - ปราชญ์ชาวบ้าน







พ่อคำเดื่องภาษี - ปราชญ์ชาวบ้าน นักคิด นักพูด นักปฏิบัติแห่งยุค   
ที่อยู่   40 ม.8 ต.หัวฝาย กิ่งอำเภอแคนดง จ.บุรีรัมย์
แหล่งที่มา  มูลนิธิพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนเพื่อคุณภาพชีวิตดี  จังหวัดขอนแก่น


ความเป็นมา 
พ่อคำเดื่อง ภาษี เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2495 เป็นลูกคนที่ 6 ในบรรดาลูกๆ 7 คน ของพ่อไพร และแม่สี ภาษี แต่งงานกับนางอมร งามชัด    ลูกสาวผู้ใหญ่บ้านบ้านหนองแก ตำบลช่องสามหมอ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ มีลูกชาย 2 คน และลูกสาว 1 คน


ตัวอย่างคำพูดของพ่อคำเดื่อง ภาษี  ที่เปรียบเปรยให้เห็นถึงแนวทางการทำเกษตรประณีตหนึ่งไร่ซึ่งรัฐบาลชูให้เป็นแนวทางหนึ่งของการแก้ไขปัญหาความยากจน 
"เราต้องคิดว่าเราคือผู้แพ้สงครามเกษตรเชิงเดี่ยว ใช้สารเคมีจนดินเสื่อมหมดแล้ว เป็นหนี้สินพ้นตัว หนีมาพื้นแผ่นดินใหม่ มีพริก มะเขือ ผักชนิดต่าง ๆ ไก่บ้าน ปลาในบ่อ เป็นพลทหาร จะระดมพลออกรบเมื่อไหร่ก็ได้ มีพืชสมุนไพรผักพื้นบ้านเป็นยา ใช้รักษายามเจ็บไข้ มีลูกยอ กล้วย เป็นนายสิบ มีไผ่เป็นนายร้อย มียางนา ตะเคียนทอง เป็นนายพัน นายพล โดยมีเจ้าของสวนเป็นจอมทัพ สะสมกำลังอยู่ในพื้นที่เล็ก ๆ เพียงหนึ่งไร่ ไม่ต้องหวังร่ำรวย เอาแค่พออยู่พอกิน หวังสร้างทรัพย์สินทางปัญญาเป็นมรดกให้ลูกหลาน ทำอย่างนี้เท่านั้นที่จะนำพาชีวิตครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติไปสู่ชัยชนะได้ "



ไขเค็มไชยา  - ภูมิปัญญาท้องถิ่น




ประวัติความเป็นมา 
        ชาวบ้านหมู่ที่ 6 ตำบลเสม็ดมีอาชีพทำนา และเลี้ยงเป็ดเป็นอาชีพเสริมเมื่อสิ้นฤดูกาลทำนา เนื่องจากผลิตภัณฑ์ไข่เป็ดสดมีปริมาณมากเหลือจากการขายเป็นสาเหตุให้ไข่เป็ดเน่าเสียชาวบ้านจึงหาวิธีถนอมไข่เป็ดสดไม่ให้เน่าเสียโดยการนำมาพอกกับดินและหมักไว้เป็นไข่เค็ม เมื่อได้รสชาติที่ดีและเก็บไว้ได้นานก็เริ่มมาวางขายบริเวณหน้าลานบ้านและริมถนนเอเชียโดยบรรจุกล่องรองเท้าบ้างใส่ถุงพลาสติกบ้าง 
ต่อมาเริ่มมีคนบริโภคไข่เค็มมากยิ่งขึ้นจนปริมาณการผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการชาวบ้านจึงได้รวมตัวจัดตั้งเป็นกลุ่มและทำการผลิตไข่เค็มเพื่อจำหน่ายและได้พัฒนามาจนถึงปัจจุบัน โดยมีสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอไชยาเข้ามาส่งเสริม และสนับสนุนด้านการจัดการกลุ่ม การพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์และสนับสนุนงบประมาณในด้านต่างๆ


กระบวนการผลิต
นำไข่เป็ดสด ไม่ล้างน้ำมาคลุกกับดินจอมปลวกน้ำบ่อและเกลือป่นแล้วคลุกขี้แกลบตามอัตราส่วน ดิน 2 เกลือ 1 ผสมกับน้ำบ่อพอประมาณห้ามใช้น้ำประปา นำไข่เป็นจุ่มในดินแล้วนำไปคลุกขี้เถ้าแกลบ นำไปเก็บไว้ประมาณ 10-15 วัน นำมาบริโภคได้รสชาติมันอร่อย


การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ใช้น้ำบ่อเท่านั้น
ไข่เป็ดสดจากน้ำไม่ต้องล้างน้ำ
ใช้ดินจอมปลวกที่มีลักษณะค่อนข้างเหนียวเพื่อให้ไข่ขาวนุ่มอร่อย
ให้ข้าวเปลือกเป็นอาหารเป็ดเพื่อความแดงมันของไข่แดง


ลักษณะเด่นของผลิตภัณฑ์ 
        ไข่เค็มไชยาเป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนามาจากภูมิปัญญท้องถิ่นในการถนอมอาหารให้มีรสชาติ มัน อร่อย เป็นเอกลักษณ์ของไข่เค็มไชยาเป็นการเฉพาะยากแก่การเลียนแบบ ทั้งนี้เนื่องจากภูมิปัญญาของผู้ผลิตและวัตถุดิบในท้องถิ่นที่มีความพร้อมเหนือท้องถิ่นอื่น เป็นการส่งเสริมการมีงานทำและรายได้ครบวงจร คือ คนเลี้ยงเป็ด ผู้ผลิต ไข่เค็ม ผลิตกล่องกระดาษ ขายดินเหนียว ขายแกลบ ผู้แทนจำหน่าย การขายอาหารสัตว์


อ้างอิง  



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น